งานแนะแนวประชาสัมพันธ์ทุนของ JSPS ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2558 JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ จัดงานแนะแนวประชาสัมพันธ์ทุนของ JSPS ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพิ่งฉลองครบรอบ 50 ปีแห่งการสถาปนาเมื่อปีพ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา มีผลงานทางวิชาการซึ่งได้รับความชื่นชมอย่างสูง JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ เริ่มจัดงานแนะแนวประชาสัมพันธ์ทุน ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีพ.ศ. 2556 ด้วยการสนับสนุนที่ดีจากรองศาสตราจารย์ ดร. อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ

รองศาสตราจารย์ ดร.เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ให้การต้อนรับคณะ JSPS ดร.เสริมเกียรติกล่าวว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้พัฒนาการวิจัยร่วมกันแบบพหุภาคีระหว่างประเทศอาเซียน และในขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็ต้องการที่จะพัฒนาความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเทคโนโลยี

DSC_0172_R-1024x641

หลังจากการประชุมกับผู้แทนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีนักวิจัยเข้าร่วมงานแนะแนวประชาสัมพันธ์ทุนของ JSPS ทั้งจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยพายัพมากกว่า 50 คน

 

หลังจากรองศาสตราจารย์ ดร. อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจกล่าวเปิดงาน JSPS ได้อธิบายเกี่ยวกับองค์กรและโปรแกรมนานาชาติของ JSPS

JSPS_R-1024x533

จากนั้น อดีตนักเรียนทุน JSPS RONPAKU ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.สายสมร ลำยอง คณะวิทยาศาสตร์ซึ่งได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยฮอกไกโด และดร.ลักษณา คณะแพทยศาสตร์ซึ่งได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยริวกิว ได้พูดคุยบอกเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์งานวิจัยในประเทศญี่ปุ่น และโครงการวิจัยร่วมกับนักวิจัยชาวญี่ปุ่นที่เกิดจากเครือข่ายวิจัยของโปรแกรม RONPAKU

ศาสตราจารย์ ดร.สายสมร ลำยอง คณะวิทยาศาสตร์

ศาสตราจารย์ ดร.สายสมร ลำยอง คณะวิทยาศาสตร์

ดร.ลักษณา คณะแพทยศาสตร์

ดร.ลักษณา คณะแพทยศาสตร์

JSPS ได้เชิญศาสตราจารย์ชาวญี่ปุ่นเข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้ด้วย ศาสตราจารย์ Ito ซึ่งเคยทำงานที่มหาวิทยาลัยมิเอะ และปัจจุบันอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับวิธีการยอมรับนักวิจัยที่มีความสามารถในมหาวิทยาลัยต่างๆ จากบริบทของ “การวิจัย” และ “ความเป็นสากล”

ศาสตราจารย์ Ito

ศาสตราจารย์ Ito

ในช่วงตอบคำถาม โครงการวิจัยร่วมกันในระดับทวิภาคี (Bilateral program) และโปรแกรม Core-to-Core ได้รับความสนใจอย่างมาก ในขณะที่ JSPS อธิบายคุณสมบัติและรายละเอียดขั้นตอนการสมัคร ดร.สายสมร และดร.ลักษณา ยังให้คำแนะนำจากประสบการณ์ของตนด้วย

DSC07547_R-1024x682

DSC07526_R-1024x460