JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ จัดสัมมนาประชาสัมพันธ์ทุนวิจัย JSPS ที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

ใน วันที่ 2 พฤษภาคม  2557 JSPS สำนักงาน กรุงเทพฯ จัดสัมมนาประชาสัมพันธ์ทุนวิจัย JSPS ที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการจัดอันดับที่ 61 ของ นิตยสาร The Times Higher Education Asia University Rankings 2013

เมื่อ JSPS ได้รับเกียรติ ในการเข้าเยี่ยมชม มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันที่ 24 มีนาคม 2557 ทาง ดร.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์, รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย เห็นพ้องกันในการให้ JSPS เข้ามาแนะแนวและการสัมมนาประชาสัมพันธ์ ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การสนับสนุนที่ดีของมหาวิทยาลัยมหิดล การสัมมนาในครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมากมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 50 ท่านรวมทั้ง นักวิจัยรุ่นใหม่และทาง ศาสตราจารย์ โมชิซึกิ ทาโร่,ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัย โอซาก้า ศูนย์อาเซียน ได้ให้เกียรติเข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้ด้วย

การสัมมนา กล่าวเปิดสัมมนาโดย ดร.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ถัดจากนั้นคือ ผู้อำนวยการ JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ
ได้อธิบายนโยบาย ของ JSPS และ หลักสูตรนานาชาติทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศญี่ปุ่น

IMG_4689

หลังจากนั้น ทาง ดร. อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ ศูนย์ การวิจัยทางคลินิก กรมวิทยาศาสตร์การ แพทย์กระทรวงสาธารณสุข ที่ท่านได้รับ ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยนางาซากิ ภายใต้โครงการทุน RONPAKU ได้บรรยายประสบการณในการไปทำวิจัยของ ในประเทศญี่ปุ่น  นอกจากนี้เขายัง ให้คำแนะนำ เกี่ยวกับการประสบการณ์ และวิธีการสมัคร ให้นักวิจัยรุ่นใหม่มีกำลังใจและแรงบันดาลใจในการลองสมัคร เพื่อที่จะได้รับโอกาส ในการไปทำวิจัยกับนักวิจัยชาวญี่ปุ่น ในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย

DSC03179_R

ดร.อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ พูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์การวิจัยในประเทศญี่ปุ่น

ในช่วง เซกชั่นคำถามที่มีหลายท่านถามเกี่ยวกับ วิธีการหานักวิจัยชาวญี่ปุ่น โดยทางศาสตราจารย์ ยามาชิตะ แนะนำ ให้พวกเขา เข้ามาปรึกษาได้ที่สำนักงานของJSPS ซึ่งทางเรารวบรวมข้อมูลแต่ละมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น ที่อยู่ในประเทศไทยไว้มากมาย และทาง ศาสตราจารย์ โมชิซึกิ ทาโร่ ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัย โอซาก้า ศูนย์อาเซียน ก็ยินดีที่จะแนะนำช่วยให้นักวิจัยไทยท่านใด ที่มีความต้องการทำงานร่วมกับนักวิจัยชาวญี่ปุ่นในมหาวิทยาลัยโอซาก้าอีกด้วย ทางดร.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ยังแนะนำ ผู้เข้าร่วม ให้ไปปรึกษากับทาง แผนกนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ว่าทางมหาวิทยาลัยมหิดล มีการติดต่อกับทางมหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่น ที่ใดบ้าง และ JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ ได้เล็งเห็นว่า สำนักงานสาขาของ มหาวิทยาลัยญี่ปุ่น
ในประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่าง นักวิจัยไทยและนักวิจัยญี่ปุ่น

IMG_4724

(จากซ้ายไปขวา) นางสาวรัตน เพชรอุไร (ผู้อำนวยการ การบริหารจัดการ กองวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหิดล) ดร.อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์, ดร.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์, ศาสตราจารย์ ยามาชิตะ, นางสาว โทโดโรกิ, ศาสตราจารย์โมชิซึกิ และนางสาวบัวบูชามณี