เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2557 JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ จัดการแนะแนวที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(PSU) พร้อมกับการจัดแนะแนวการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่นครั้งที่ 7 โดยสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PSU) เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่สำคัญของประเทศไทย ในปี2014 การจัดอันดับตามกลุ่มประเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลำดับที่89 โดยมีมหาวิทยาลัยจากประเทศไทย 5 แห่ง ติดอยู่ในการจัดอันดับในกลุ่ม 100 มหาวิทยาลัยแรกของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ นับเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยเฉพาะกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่เป็นครั้งแรก โดยกลุ่มประเทศ “BRICS”
ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วอันประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ โดยชื่อ BRICS ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการย้ายอำนาจเศรษฐกิจโลก จากกลุ่มพัฒนาแล้วอย่างG7 มาสู่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาทั้ง 5 ประเทศ ประกอบรวมกับกลุ่มประเทศ”Emerging Economies” ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยกลุ่มประเทศเหล่านี้ มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง ทั้งนี้ทั้งนั้นสถานทูตญี่ปุ่นในประเทศไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการประชาสัมพันธ์การจัดการแนะแนวจึงเป็นเจ้าภาพจัดงานศึกษาต่อญี่ปุ่นเป็นประจำทุกปี ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยขอนแก่น , มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามลำดับ ตั้งแต่ปี 2012 ซึ่งทาง JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ ก็ได้รับการเข้าร่วมงานเพื่อแนะแนวด้วยเช่นกัน
การจัดแนะแนวการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่นครั้งที่ 7 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ท่านซูโตมุ นาคากาวา อัครราชทูตประเทศญี่ปุ่นประจำประเทศไทย,และผู้แทนจาก 16 มหาวิทยาลัยญี่ปุ่น รวมทั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี Fukui มหาวิทยาลัยเมจิ,มหาวิทยาลัยโตไก,สถาบันเทคโนโลยีโตเกียว,การสนับสนุนจากองค์กร JASSO และ JSPS , และสมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่นในประเทศไทย โดยได้รับการต้อนรับอย่างดีเยี่ยมจาก ศ.ดร.อมรรัตน์ พงศ์ดารา รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ทุนของ JSPS และแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสการไปวิจัยในประเทศญี่ปุ่น ที่อาคารศูนย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมี ผศ.ดร.วิภาดา เวทย์ประสิทธิ์ รอง ผอ.ฝ่ายเผยแพร่และสารสนเทศวิจัย ซึ่งให้เกียรติมากล่าวเปิดซึ่งท่านเห็นถึงความสำคัญในการดำเนินกิจกรรมการวิจัยร่วมกับ JSPS และ สภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศไทย
โดยมีวิทยากรคือ ดร.เฉลิมเกียรติ์ สงคราม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะเภสัชศาสตร์ ศิษย์เก่าของ JSPS และยังดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะกรรมการบริหารของสมาคมศิษย์เก่า JSPS ประเทศไทย ( JAAT ) และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศิรุษา กฤษณะพันธุ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ผู้ที่เคยได้รับทุนของ RONPAKU ได้ให้เกียรติมาบรรยาเกี่ยวกับประสบการณ์การไปทำวิจัยในประเทศญี่ปุ่น โดย ดร. เฉลิมเกียรติ ได้บรรยายถึงขั้นตอนการสมัครอย่างละเอียด และให้ข้อมูลได้เป็นอย่างดีมาก เช่นการประยุกต์ใช้แผนวิจัยและยิ่งกว่านั้น ได้แนะนำเกี่ยวกับสมาคมศิษย์เก่า JAAT เช่นเดียวกับ ดร. ศิรุษา กฤษณะพันธุ์ได้รับปริญญาเอก มหาวิทยจากมหาวิทยาลัยนางาซากิ จากโปรแกรม Ronpaku โดยภาพรวม MOU ที่มีต่อมหาวิทยาลัยนางาซากิ มีความสัมพันธ์ที่ดีมากในการส่งเสริมความร่วมมือ ด้านการวิจัยและการแลกเปลี่ยนนักศึกษานอกจากนี้ยังมีอีก2ท่านซึ่งเป็นศิษย์เก่าของ JSPS ด้วยเช่นกัน คือ ดร. สมพงษ์ เตชะโต – ศาสตราจารย์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ ที่เคยได้รับทุน Monbukagakusho และ JSPS หลังปริญญาเอก และ ดร.วรรณรัตน์ แซ่ชั่น ผู้ที่ได้รับทุนMonbukagakusho และเข้าร่วมในการบรรยายนี้ด้วยเช่นกัน การบรรยายและประชาสัมพัน์ในครั้งนี้ มีการถามตอบที่เข้มข้นมาก แต่ทุกคำถามทุกท่านก็ได้รับการอธิบายได้อย่างละเอียดไม่ว่าจะเกี่ยวกับโปรแกรมทั้งหมดของJSPS และประสบการณ์ของศิษย์เก่าหลายๆท่าน คำถาม ต่างๆ ในจำนวนผู้เข้าร่วมกว่า 25 ท่าน ไม่ว่าจะเป็น ระยะเวลาการสมัคร การเริ่มต้น ช่วงเวลาที่ต้องการให้เข้ามาประชาสัมพันธ์ และวิธีการหาที่ปรึกษาทางวิชาการ แต่ทาง JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ ก็ได้เล็งเห็นถึงตระหนัก ความสนใจของผู่เข้าร่วมที่รวมตัวกันเพื่อการบรรยายและประชาสัมพันธ์ในครั้งนี้ จึงให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์และบรรยาย เพื่อนักวิจัยรุ่นใหม่และศิษย์เก่า JSPS จึงกำหนดให้มีแผนการประชาสัมพันธ์โปรแกรม JSPS ในภูมิภาคนี้อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง