วันพุธที่ 13 มิถุนายน 2012 ดร. ซาไก มาซาฮารุ จาก: Forestry and Forest Products Research Institute(FFPRI)มาเยือนสำนักงานกรุงเทพ
ดร. ซาไก ได้เข้ามาทำวิจัยตั้งแต่ปี 1989 เป็นเวลา 2 ปี โดยทำการวิจัยที่กรมป่าไม้ สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ (Royal Forest Department)และต่อมาในปี 2007 เป็นเวลา 2 ปี ทำวิจัยร่วมกับศูนย์วิจัยเกษตรนานาชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น(Japan International Research Center for Agricultural Sciences ; JIRCAS)ทำให้มีประสบการณ์ยาวนานในการทำงานวิจัยในประเทศไทย
การมาเยือนครั้งนี้ เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดส่งนักวิจัยต่างชาติในโครงการความร่วมมือระหว่าง JSPS-JICA (Dispatch of Science and Technology Researchers) ทางภาคเหนือของไทยประสบปัญหาใหญ่เกี่ยวกับการลักลอบตัดไม้ โดยเฉพาะไม้สัก ยังมีการลักลอบนำเข้าไม้เถื่อนจากประเทศพม่าเพื่อนำมาแปรรูปขายอีกด้วย
เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ดร. ซาไกจึงได้จัดตั้งกลุ่มเพื่อทำวิจัยในไทยขึ้นมา มีการฝึกอบรม และใช้วิธีวิเคราะห์โดยใช้ไอโซโทป
กลุ่มนักวิจัยของไทยประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , กรมป่าไม้ , กรมพัฒนาที่ดิน(Land Development Department)ซึ่งมีความร่วมมือต่อกันให้มาทำการวิจัยร่วมกัน และยังมีหน่วยงานต่างประเทศอาทิเช่น SATREPS ซึ่งอยู่ภายใต้ความร่วมมือ JST-JICA
ประเทศไทยมีทุนวิจัยจากหน่วยงานต่างๆของญี่ปุ่น อาทิเช่น JSPS ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีทุนวิจัยที่มีลักษณะแตกต่างกันไป
a) DSTR(JSPS-JICA):คุณลักษณะ การทำวิจัยร่วมกัน ฝึกอบรมบุคลากรกับผู้ชำนาญการพิเศษในด้านนั้นๆ
b) Asia-Africa Platform (JSPS) : คุณลักษณะเสริมสร้างความร่วมมือด้านวิชาการ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีระหว่าง ทวีปเอเชีย -แอฟริกา
c) SATREPS(JST-JICA): ความร่วมมือระหว่าง JST-JICA ด้านการวิจัยร่วมกัน โดยมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาภัยคุกคามโลกและปัญหาสังคม
หลักการโดยรวมของ JICA, JSPS, JST มีดังต่อไปนี้
JICA : ความร่วมมือระดับนานาชาติ พัฒนาสังคม และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
JSPS:การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ ฝึกอบรมบุคลากร
JST:การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์, คืนประโยชน์ให้แก่สังคม
ในฐานะสำนักงานกรุงเทพ ได้ทำภารกิจที่สำคัญทั้งในเชิงวิชาการ ที่มุ่งเน้นเกี่ยวกับ「ผลกระทบต่อสังคม」และ「การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ 」ให้ขนานไปด้วยกัน เพื่อให้เกิดมุมองที่หลากหลายนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในประเทศไทย นอกเหนือจากปัญหาข้างต้น ยังมีปัญหาเกี่ยวกับดินเค็ม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัญหาการปลูกยางพาราในภาคใต้ ทำให้ตระหนักถึงปัญหาที่แท้จริงและใช้หลักทางงานวิจัยทั้งทางสังคมและวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานปูทาง หรือวางแผนงานวิจัยในระยะยาวเพื่อแก้ปัญหา