วันพุธที่ 16 พฤษภาคม 2012 อาจารย์โสภณ ฐิตะสัจจา จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มาเยือน JSPS สำนักงานกรุงเทพ
อาจารย์โสภณทำงานเป็นที่ปรึกษาของสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(Department of Human Resource and Organization Management)และได้พานักศึกษาไปดูงานทางสาขานี้ที่ประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 7-11 พฤษภาคม 2012 ที่ผ่านมา
การไปดูงานครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การและนำไปพัฒนาบุคลากร ทาง JSPS แนะนำให้ไปดูงานที่มหาวิทยาลัยฟุกุโอกะ ซึ่งอาจารย์โสภณได้เข้าพบ กับอธิการบดี คุณชิโมมุระ , คุณอาโสะ ที่ปรึกษาสูงสุด , คุณโอทานิ กรรมการบริหาร, คุณมาเอะดะ ผู้จัดการฝ่ายธุรการ พร้อมกับพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างการดูงาน
JSPS มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่สามารถเป็นสื่อกลางเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยในไทยกับมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น
อาจารย์โสภณพูดอ่านเขียนภาษาญี่ปุ่นได้อย่างฉะฉาน เพราะได้ศึกษาเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัยเกียวโต คณะเศรษฐศาสตร์ในระดับปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก เป็นเวลา 10 ปี
อาจารย์โสภณ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก แต่ว่าอาจารย์อายุเกิน 45 ปี ซึ่งไม่สามารถสมัครทุน RONPAKU ได้
ในประเทศไทยจำนวนผู้ที่จบปริญญาเอกที่อายุมากกว่า 45 ปีและอายุน้อยกว่า 45 ปี มีสัดส่วนที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง เรียกได้ว่านักวิจัยที่อายุต่ำกว่า 45 ปี จบการศึกษาโดยการลงทะเบียนเรียนตามปกติซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางการศึกษา หลายคนที่จบปริญญาเอกจากทั้งในและต่างประเทศ ในอีกด้าน ผู้ที่จะมาเป็นอาจารย์สอนหรือทำงานวิจัยจำเป็นที่ต้องจบปริญญาเอก ในทางตรงกันข้าม นักวิจัยบางส่วนในอดีต อาจเรียกได้ว่ารุ่นที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นผู้ที่มีอายุเกิน 50 ปี และได้ทำงานในมหาวิทยาลัยโดยไม่มีวุฒิปริญญาเอก
สำหรับทุน RONPAKU สิ่งที่สำคัญคือมีการจำกัดอายุผู้สมัครทุนนี้ โดยอายุไม่เกิน 45 ปี ซึ่งอาจารย์โสภณเป็นกรณีนี้เช่นกัน
ในส่วนของอาจารย์โสภณซึ่งดูแลโครงการ การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์เพื่อความสำเร็จ (Strategic Human Resource Management & Development for Human Resource Executive) ซึ่งเป็นสมาชิกภายใต้ ภาควิชาการบริหารองค์การและทรัพยากรมนุษย์ (Department of Human Resource and Organization Management (DHROM)) คณะคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Faculty of Commerce & Accountancy (FCA)) หลักสูตรใช้เวลาเรียน 4 เดือน ซึ่งค่าใช้จ่ายรวมถึงการบรรยายและศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ โดยเน้นระดับผู้บริหารในหน่วยงานภาครัฐ อาจารย์ในโครงการมี 14 ท่าน รวมถึงอาจารย์โสภณ หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรใหม่และเล็กของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ส่วนหลักสูตรการบัญชี , การเงินและการตลาดเป็นหลักสูตรที่ใหญ่กว่าของคณะ อาจารย์ทุกท่านมีประสบการณ์ในการสอนด้านบัญชีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ก่อตั้งคณะขึ้นมา
การเปลี่ยนแปลงเช่นการก่อตั้งคณะภาควิชาการบริหารองค์การและทรัพยากรมนุษย์ DHROM แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่ทางมหาวิทยาลัยต้องการจะเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การซึ่งเป็นบทบาทใหญ่ในสังคม ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้มีหลักสูตร Joint Degree ขึ้นมา