วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ จัดงานแนะแนวประชาสัมพันธ์ทุนของ JSPS ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “งานแนะแนวการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น”
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2510 เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้ของไทย มี 5 วิทยาเขต นำเสนอโปรแกรมการศึกษาต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีทั้งหมด 30 คณะ โรงพยาบาล 2 แห่ง และมีศูนย์การวิจัยที่เป็นเลิศมากกว่า 40 แห่ง
ผศ. ดร.ราม แย้มแสงสังข์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ให้การต้อนรับนายโคจิ ทาวาระ เลขานุการเอก สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและคณะ พร้อมตัวแทนจากมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นต่างๆ
ในระหว่างการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมต่างหารือเรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศระหว่างนักวิจัยและนักศึกษา รวมถึงความเป็นไปได้ของการพัฒนาหลักสูตรปริญญาคู่ หลังจากการประชุมกับผู้แทนจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีนักวิจัยเข้าร่วมงานแนะแนว
ประชาสัมพันธ์ทุนของ JSPS เกือบ 30 คน
รองศาสตราจารย์ ดร. ศุภศิลป์ มณีรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา ฝ่ายยุทธศาสตร์วิจัย สำนักวิจัยและพัฒนา เป็นผู้กล่าวเปิดงาน ดร. ศุภศิลป์เคยเข้าร่วมโปรแกรม JSPS Core University ซึ่งสนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยยามากุจิ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลังจากนั้น คุณไดสุเกะ ยามาดะ รองผู้อำนวยการ JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ เป็นผู้อธิบายรายละเอียดโปรแกรมนานาชาติของ JSPS
JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ เชิญศิษย์เก่าของ JSPS 2 ท่านจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มาเป็นวิทยากร ท่านแรก คือ ผศ.ดร ศิรุษา กฤษณะพันธุ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม อดีตนักเรียนทุน JSPS RONPAKU ซึ่งได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยนางาซากิ เป็นผู้บรรยายประสบการณ์การวิจัย และการใช้ชีวิตในประเทศญี่ปุ่น
วิทยากรท่านที่สอง คือ ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง เตชะโต ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ อดีตนักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น และทุน JSPS RONPAKU ซึ่งได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยชิบะ เป็นผู้บรรยายโปรแกรมนานาชาติของ JSPS และประสบการณ์ในประเทศญี่ปุ่น
งานแนะแนวประชาสัมพันธ์ทุนของ JSPS ครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่นายโคจิ ทาวาระ เลขานุการเอก สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยได้เข้าร่วมเพื่ออธิบายเกี่ยวกับทุนการศึกษาของรัฐบาลญี่ปุ่น (Monbukagakusho)
JSPS เตรียมข้อมูลเกี่ยวกับทุนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก (RONPAKU) เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับทุนการศึกษาของรัฐบาลญี่ปุ่นค่อนข้างสำคัญสำหรับนักวิชาการที่ต้องการจะได้รับปริญญาเอก นายทาวาระตระหนักถึงความต้องการอย่างสูงนี้ ผู้เข้าร่วมสนใจการแนะแนวทุนเป็นอย่างมาก