งานแนะแนวการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น และงานแนะแนวประชาสัมพันธ์ทุนของ JSPS ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หลังจากที่ JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ ได้ไปเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยมหาสารคาม JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ ได้จัดบรรยายสรุปโครงการที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “งานแนะแนวการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น”

มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและมีประวัติยาวนานถึง 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับเลือกเป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยในประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยเน้นกิจกรรมการวิจัย เช่น การเข้าร่วมโครงการ JSPS Core-to-Core ถึง 2 โครงการ ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยเกียวโต และมหาวิทยาลัยอาชีวอนามัยสิ่งแวดล้อม (University of Occupational and Environmental Health) ตามลำดับ

ลำดับแรก ผศ. ดร. เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยกล่าวต้อนรับคณะของสถานทูตญี่ปุ่นและตัวแทนจากมหาวิทยาลัยญี่ปุ่น ทั้งสองฝ่ายกล่าวถึงวิธีการที่จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นและไทย รวมทั้งการจัดตั้งหลักสูตรปริญญาคู่ (double degree programs) และแผนการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

KKU 1

KKU 6

หลังเสร็จสิ้นการประชุมกับผู้แทนของมหาวิทยาลัยขอนแก่น งานแนะแนวประชาสัมพันธ์ทุนของ JSPS มีผู้เข้าร่วมประมาณ 40 คน รศ.ดร. กิตติศักดิ์ สวรรยาวิสุทธิ์ ตัวแทนระดับภูมิภาคของสมาคมศิษย์เก่า JSPS แห่งประเทศไทยเป็นผู้ให้การสนับสนุนและประสานงานการจัดงานสัมมนาเป็นอย่างมาก รศ.นพ.ถวัลย์วงค์ รัตนสิริ รองอธิการบดีฝ่ายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและยุทธศาสตร์ความร่วมมือกล่าวเปิดงานและ JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ อธิบายโปรแกรมของ JSPS

รศ.นพ.ถวัลย์วงค์ รัตนสิริ

รศ.นพ.ถวัลย์วงค์ รัตนสิริ

KKU 2

อดีตนักเรียนทุนของ JSPS 3 ท่าน จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้บรรยายประสบการณ์การวิจัยในประเทศญี่ปุ่น ท่านแรก คือ รศ.ดร. กิตติศักดิ์ สวรรยาวิสุทธิ์ กล่าวเกี่ยวกับประสบการณ์จากโปรแกรมทุน JSPS RONPAKU โดยอธิบายว่าทำไมถึงเลือกที่จะดำเนินการวิจัยในประเทศญี่ปุ่น และวิธีการติดต่ออาจารย์ในมหาวิทยาลัยญี่ปุ่น รวมถึงอาชีพหลังจากประสบความสำเร็จจบการศึกษาระดับปริญญาเอกแล้ว

รศ.ดร. กิตติศักดิ์ สวรรยาวิสุทธิ์

รศ.ดร. กิตติศักดิ์ สวรรยาวิสุทธิ์

ท่านที่สอง คือ รศ. ดร. ศักดา ดาดวง ซึ่งเคยศึกษาที่มหาวิทยาลัยโตเกียวภายใต้การสนับสนุนโดยทุนการศึกษาของรัฐบาลไทยตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงระดับปริญญาเอก และหลังจากนั้น รศ. ดร. ศักดาได้รับเชิญให้รับทุน JSPS ที่มหาวิทยาลัยโอซาก้า รศ. ดร. ศักดาพูดคุยเกี่ยวกับชีวิตในประเทศญี่ปุ่นในฐานะนักศึกษาและนักวิจัย รวมทั้งการต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคภูมิแพ้ และประสบการณ์การทำงานพิเศษที่หลากหลายด้วย การบรรยายอย่างมีอารมณ์ขันของรศ. ดร. ศักดาจึงดึงดูดผู้ฟังเป็นจำนวนมาก

รศ. ดร. ศักดา ดาดวง

รศ. ดร. ศักดา ดาดวง

KKU 5

ลำดับสุดท้าย ดร. ยูกิฟูมิ นาวา ที่ปรึกษาของฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นอดีตรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยมิยาซากิ (Miyazaki University) กล่าวเกี่ยวกับวิธีการสมัครโปรแกรมของ JSPS ในขณะที่ดำรงตำแหน่งในมหาวิทยาลัยมิยาซากิ ดร. ยูกิฟูมิเป็นผู้ดูแลนักวิจัยต่างชาติ ดร. ยูกิฟูมิจึงให้คำแนะนำแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาเกี่ยวกับวิธีการหานักวิจัย (host researchers) และวิธีการเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ให้น่าสนใจ

นอกจากนี้ ดร. ยูกิฟูมิยังเน้นถึงความสำคัญของการตีพิมพ์เอกสารสำหรับวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติและการมีส่วนร่วมในการประชุมวิชาการนานาชาติ

ดร. ยูกิฟูมิ นาวา

ดร. ยูกิฟูมิ นาวา

ขอบคุณวิทยากรทั้ง 3 ท่าน สำหรับการบรรยายสรุปและข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างมาก รวมทั้งคำแนะนำโดยเฉพาะสำหรับนักวิจัยในมหาวิทยาลัยขอนแก่น

KKU 8