งานแนะแนวการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น และงานแนะแนวประชาสัมพันธ์ทุนของ JSPS ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2557 JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ เข้าร่วม “งานแนะแนวการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น” จัดโดยสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยมหาสารคามร่วมกับองค์การสนับสนุนนักศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่นและ 5 มหาวิทยาลัยจากญี่ปุ่น ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุกุอิ มหาวิทยาลัยเกียวโต มหาวิทยาลัยเมจิ มหาวิทยาลัยโตไก สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว ตามลำดับ ในขณะที่สถานทูตญี่ปุ่นและมหาวิทยาลัยทั้ง 5 จัดการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการศึกษาในประเทศญี่ปุ่นสำหรับนักเรียน JSPS ก็จัดสัมมนาให้คำแนะนำสำหรับคณาจารย์ด้วย

Japanese delegates members

Japanese delegates members

ลำดับแรก เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย นายชิเงะคาสึ ซาโต้ (H.E. Mr. Shigekazu Sato) เป็นผู้แทนญี่ปุ่นเข้าเยี่ยมรองอธิการบดี และแสดงความหวังว่างานแนะแนวการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่นจะสามารถส่งเสริมให้นักศึกษาและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยสนใจไปศึกษาและวิจัยในประเทศญี่ปุ่น

การเยี่ยมเยือนรองอธิการบดี

การเยี่ยมเยือนรองอธิการบดี

งานแนะแนวประชาสัมพันธ์ทุนของ JSPS มีนักวิจัยเข้าร่วมประมาณ 40 คน JSPS ให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศญี่ปุ่นและโปรแกรมทุนต่างๆ

MSU 3

อดีตนักเรียนทุนของ JSPS 2 ท่าน เป็นผู้บรรยายประสบการณ์การวิจัยในประเทศญี่ปุ่น ท่านแรก คือ รองศาสตราจารย์ ดร.โรจน์ชัย ศัตรวาหา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช ได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยโตเกียวการเกษตร (Tokyo Agricultural University) ภายใต้การสนับสนุนของโปรแกรม JSPS RONPAKU ดร.โรจน์ชัยสนับสนุนให้อาจารย์วัยหนุ่มสาวกระตือรือร้นในการสมัครโปรแกรม JSPS

รองศาสตราจารย์ ดร.โรจน์ชัย ศัตรวาหา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช

รองศาสตราจารย์ ดร.โรจน์ชัย ศัตรวาหา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช

ท่านที่สอง คือ ดร. วีระชัย สายจันทา ได้รับทุน JSPS invitation (ระยะยาว) ไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยโคจิ (Kochi University) ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับชีวิตในห้องปฏิบัติการ และมิตรภาพกับนักเรียนและนักวิจัยชาวญี่ปุ่น

ดร. วีระชัย สายจันทา

ดร. วีระชัย สายจันทา

ในตอนท้ายของการสัมมนา ผู้เข้าร่วมสัมมนาต่างแลกเปลี่ยนมุมมองในการวิจัยที่ประเทศญี่ปุ่นอย่างแข็งขัน นักวิจัยอาวุโสบางท่านแสดงความกังวลว่าข้อมูลและโอกาสที่จะเข้าถึงกองทุนวิจัยระหว่างประเทศอาจถูกจำกัดในหมู่นักวิจัยหนุ่มสาวของมหาวิทยาลัยท้องถิ่น JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ จึงตระหนักถึงความต้องการข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนสนับสนุนการวิจัยระหว่างนักวิจัยในมหาวิทยาลัยของไทยเป็นอย่างมาก

ผู้เข้าร่วมสัมมนาต่างแลกเปลี่ยนมุมมองในการวิจัยที่ประเทศญี่ปุ่น

ผู้เข้าร่วมสัมมนาต่างแลกเปลี่ยนมุมมองในการวิจัยที่ประเทศญี่ปุ่น

MSU 7