เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2557 JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ จัดงาน “สัมมนา JSPS-NRCT” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2557 สนับสนุนโดยสภาวิจัยแห่งชาติ (NRCT) มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติเป็นงานวิชาการประจำปีที่นักวิจัยทั้งในและต่างประเทศร่วมกันจัดสัมมนาทางวิทยาศาสตร์สำหรับประชาชน
JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ เป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาร่วมกับสภาวิจัยแห่งชาติ มีการเชิญนักวิจัยชาวญี่ปุ่นนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ในปีนี้เพื่อให้สอดคล้องกับหัวข้อ “การวิจัยเพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมอย่างยั่งยืน” ของมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2557 JSPS จึงจัดงานสัมมนาในหัวข้อ “การเรียนรู้: คุณค่าของการเรียนรู้ และการอยู่ร่วมกัน” และเชิญวิทยากร 3 ท่านจากประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งผู้ดำเนินรายการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(From left) Asst. Prof. Dr. Jitti, Prof. Suzuki, Mr. Oikawa, Mr. Kristhawat, Prof. Homma, Prof. Yamashita, Mr. Kato
โครงร่างของการสัมมนา มีดังนี้
“การเรียนรู้: คุณค่าของการเรียนรู้ และการอยู่ร่วมกัน”
วิทยากร :
Prof. Masato Homma, Kyoto University of Art and Design
“Learnology” -Toward creation of Learning Planet-
Mr. Yukihiko Oikawa, Former Deputy Director, Kesennuma City Board of Education
”Learning with local wisdom and community involvement”
-บทเรียนที่ได้รับจากแผ่นดินไหวและสึนามิ เมื่อปี พ.ศ. 2554
Prof. Katsunori Suzuki, Kanazawa University
“Learning to be and live together” -What ESD aims for-
ผู้ดำเนินรายการ :
ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา อดีตคณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้กล่าวเปิดงานสัมมนา ตามด้วยการต้อนรับจาก Mr. Hisashi Kato ผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศของ JSPS
การบรรยายของศาสตราจารย์ Homma เน้นที่ความหมายของการเรียนรู้ และคุณค่าของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เขาสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสัมภาษณ์คนที่นั่งติดกันเกี่ยวกับ “สิ่งที่คุณได้เรียนรู้เมื่อเร็ว ๆ นี้” หรือ “อะไรเป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตที่คุณเคยเรียนรู้มา” ผู้เข้าร่วมสัมมนาบางคนถูกขอร้องให้แบ่งปันบทสนทนาดังกล่าวแก่ทุกคน ผู้เข้าร่วมสัมมนาต่างมีความสุขกับการนำเสนอประสบการณ์ของตน และเรียนรู้หัวข้อ “อะไรคือการเรียนรู้” ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกัน
Mr. Oikawa แนะนำประวัติศาสตร์อันยาวนานของการศึกษาในโรงเรียนภายใต้แนวคิดของ “การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ESD)” ที่เมือง Kesennuma จังหวัด Miyagi ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างหนักจากแผ่นดินไหวใหญ่ทางภาคตะวันออกของญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2554 เขาเน้นว่าการศึกษาจะช่วยให้ชุมชนฟื้นตัวจากภัยพิบัติ หลังจากแผ่นดินไหวและสึนามิ เด็กนักเรียนในเมือง Kesennuma ได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการช่วยฟื้นฟูบูรณะเมืองจากสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้จากแนวคิดของ “การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ESD)” เด็กๆ ยังให้การสนับสนุนทางจิตวิญญาณแก่ชุมชน ผู้เข้าร่วมสัมมนาประทับใจเด็กนักเรียนที่ช่วยเหลือชุมชนให้ฟื้นตัวเป็นอย่างมาก
ศาสตราจารย์ Suzuki เริ่มต้นการบรรยายด้วยคำถามว่า “คุณเป็นคนมองอนาคตในแง่ดี หรือ แง่ร้าย ?” หลังจากนั้น เขายกตัวอย่างภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลก และยืนยันถึงความสำคัญของการเรียนรู้ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ในสังคมสมัยใหม่ ศาสตราจารย์ Suzuki แนะนำแนวคิดและภูมิหลังของ “การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ESD)” ให้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา และแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความหมายของ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” กับผู้เข้าร่วมสัมมนา
ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา ดำเนินการสัมมนาด้วยอารมณ์ขัน และสรุปเนื้อหาเป็นภาษาไทยเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเข้าใจยิ่งขึ้น
ลำดับสุดท้าย ศาสตราจารย์ Yamashita ผู้อำนวยการ JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ กล่าวปิดการสัมมนา
มีผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนามากกว่า 100 คน รวมทั้งครูและนักเรียนซึ่งสนใจความหลากหลายของ “การเรียนรู้” และ “การศึกษา” ในประเทศญี่ปุ่น
Seminar Program Download