เปิดงานสัมมนา JSPS‐NRCT Seminar at Research Expo 2010

หลังจบการบรรยาย ทุกคนได้ร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึก

หลังจบการบรรยาย ทุกคนได้ร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึก

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2010 เวลาประมาณ 13.30 น. ได้มีการเปิดงาน JSPS-NRCT Seminar at Research Expo 2010 ณ ห้องสัมมนา ที่บางกอกคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์
งานได้เริ่มจัดมาตั้งแต่วันที่ 26-30 สิงหาคม 2010 ทาง NRCT เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน โดยครั้งนี้มีหัวข้อในการสัมมนาคือ「Advanced Science and Education in Japan」นอกจากนี้ได้เชิญวิทยากรชั้นนำที่มีชื่อเสียงจากประเทศญี่ปุ่นมาร่วมบรรยายด้วยกันทั้งสิ้น จำนวน 3 ท่าน
ผู้ได้รับเชิญบรรยายในงานครั้งนี้มาจากโครงการ GCOE ( Global Center of Excellence ) ซึ่งมาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้แก่ ศาสตราจารย์ โยโซะ ฟูจิโนะ จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ศาสตราจารย์เคนจิ ฮิรายามะ จากมหาวิทยาลัยนางาซากิ และ ศาสตราจารย์ฮิโรยูกิ ซังไก จากมหาวิทยาลัยซุคุบะ
งานเริ่มโดย ผู้อำนวยการ JSPS สำนักงานกรุงเทพ ดอกเตอร์วาตารุ ทาเคอุชิได้กล่าวเปิดงาน และทาง NRCT นำโดยผู้อำนวยการภารกิจต่างประเทศ คุณชูศรี กี่ดำรงกูล ได้กล่าวคำต้อนรับผู้ที่ได้เข้ามาฟังการสัมมนาครั้งนี้ หลังจากนั้นได้เริ่มเปิดการบรรยายตามลำดับ

หัวข้อ การฟื้นฟูเมืองใหญ่อย่างยั่งยืน โดยศาสตราจารย์โยโซะ ฟูจิโนะ จากมหาวิทยาลัยโตเกียว เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงและขยายตัวของเมืองใหญ่ที่เกิดขี้นอย่างรวดเร็ว อัตราการเกิดน้อยลง กลายเป็นสังคมผู้สูงวัยโครงสร้างไม่สมดุลย์กัน ในเมืองมีสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม พร้อมๆกับภัยพิบัติที่เพิ่มขี้นทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงตามกันไป อีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาต่างๆขี้นมา เพื่อที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้เราควรเข้าถึงปัญหาให้ใกล้ชิด เพื่อที่จะนำวิทยาศาสตร์บางสาขามาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ อาทิเช่นการเพิ่มของประชากรในกรุงเทพ ที่มีถึง10,000,000 คน

มีการ ถาม – ตอบ หลังการบรรยายเสร็จสิ้น

มีการ ถาม – ตอบ หลังการบรรยายเสร็จสิ้น

หัวข้อ โรคในเขตร้อน โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ บรรยายโดย ศาสตราจารย์ เคนจิ ฮิรายามะ จากมหาวิทยาลัยนางาซากิ
โรคเหล่านี้จากการวิจัยเบื้องต้นและการสำรวจพื้นที่พบว่า ยุงเป็นพาหะของโรคไข้มาลาเรียและไข้เลือดออกอีกด้วย จำนวนยุงที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วสืบเนื่องมาจากการพัฒนาความเป็นอยู่และกิจกรรมของมนุษย์ อธิบายได้เป็นอย่างดีว่า การขยายตัวของจำนวนยุงเกิดขี้นจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมอันก่อเกิดจากมนุษย์

ศาสตราจารย์ เคนจิ ฮิรายามะ ในระหว่างการบรรยาย

ศาสตราจารย์ เคนจิ ฮิรายามะ ในระหว่างการบรรยาย

หัวข้อ Cybernics – fusion of human , machine and information systems บรรยายโดย ศาสตราจารย์ โยชิยูกิ ซังไก จากมหาวิทยาลัยซุคุบะ cybernics เป็นสาขาวิทยาศาสตร์ที่มีขอบเขตกว้างโดยรวมไปถึงวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆอาทิเช่น สรีระศาสตร์ สังคมศาสตร์ ธรรมชาติวิทยา ประสาทวิทยา วิทยาศาสตร์การแพทย์ และอื่นๆซึ่งมุ่งให้ความรู้ในการออกแบบ วิเคราะห์ สร้าง บำรุงรักษาเครื่องจักรกลสมัยใหม่ เช่น หุ่นยนต์ โดยนำคอมพิวเตอร์มาช่วยออกแบบ วิเคราะห์สร้างหุ่นยนต์ ในการบรรยายได้นำเสนอด้วยสไลด์ที่มีภาพเป็นหุ่นยนต์มาใช้ช่วยคนที่แขน ขาไม่สามารถขยับหรือเดินได้ ให้สามารถกลับมาเดินได้อีกครั้ง ซึ่งผู้ฟังการบรรยายในงานต่างทึ่งและประหลาดใจในความสามารถของหุ่นยนต์

ศาสตราจารย์ ฮิโรยูกิ ซังไก ขณะทำการบรรยายในหัวข้อ cybernics

ศาสตราจารย์ ฮิโรยูกิ ซังไก ขณะทำการบรรยายในหัวข้อ cybernics

หลังจบการบรรยายในแต่ละหัวข้อ มีวิทยากรคนไทยมาสรุปในแต่ละหัวข้อ พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้มาฟังการบรรยายถามและให้วิทยากรญี่ปุ่นตอบกันโดยถ้วนหน้า
ในการบรรยายครั้งนี้ ทุกคนต่างให้ความสนใจกันมากมาย เป็นเรื่องใกล้ตัวและบางหัวข้อเป็นเทคโนโลยีล้ำสมัยกว่าในประเทศไทยซึ่งไม่เคยมีมาก่อน และทั้ง 3 ท่านที่ทำหน้าที่บรรยายต่างเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงชั้นนำระดับโลก การบรรยายใช้เวลาไปทั้งหมดประมาณ 3 ชั่วโมง
(รายละเอียด)
13:30
เปิดงานโดย JSPS สำนักงานกรุงเทพ ผู้อำนวยการ ศาสตราจารย์ วาตารุ ทาเคอุชิ กล่าวเปิดงาน
ทางสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (NRCT) โดยผู้อำนวยการภารกิจการต่างประเทศ คุณชูศรี กี่ดำรงกูลได้กล่าวคำต้อนรับแก่ผู้มาร่วมงานบรรยายในครั้งนี้
13:40-14:30
การฟื้นฟูเมืองใหญ่อย่างยั่งยืน ( Sustainable urban regeneration )
ผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างผังเมือง จากมหาวิทยาลัยโตเกียว
http://csur.t.u-tokyo.ac.jp/index_en.html
ศาสตราจารย์ โยโซะ ฟูจิโนะ
วิทยากรไทย: ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
รศ.ดร.นพดล สหชัยเสรี
14:40-15:30
โรคในเขตร้อน โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Integrated global strategy for the control of tropical and emerging infections diseases )
ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อเขตร้อน โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ จากมหาวิทยาลัย นางาซากิ
http://www.tm.nagasaki-u.ac.jp/gcoe/index.html
ศาสตราจารย์ เคนจิ ฮิรายามะ
วิทยากรไทย:ฝ่ายงานวิเทศสัมพันธ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ดร.โชติกา บุญหลง
15:40-16:30
Cybernics: fusion of human, machine and information systems
ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน cybernics จากมหาวิทยาลัยซุคุบะ
http://www.cybernics.tsukuba.ac.jp/index.html
ศาสตราจารย์ โยชิยูกิ ซังไก
วิทยากรไทย:ภาควิชาเมคาโทรนิคส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
รศ.ดร.มนูกิจ พานิชกุล
GCOE:Global Center of Excellence เป็นโครงความเป็นเลิศในสาขาต่างๆโดยมีงบประมาณลงทุนในด้านการวิจัยค้นคว้าและด้านการศึกษาระดับมหาบัณฑิตโดยใช้เวลา5 ปี ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการประเทศญี่ปุ่นเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและศักยภาพด้านงานวิจัยวิทยาศาสตร์ ปัจจุบัน ในเดือน สิงหาคม 2010 งานด้านการวิจัยจากเจเอสพีเอส ได้ถูกคัดเลือกไปแล้ว140 เรื่อง