การเยือนมหาวิทยาลัยรัฐในประเทศไทยแห่งที่ 4 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2011 JSPS สำนักงานกรุงเทพ ได้ไปเยือนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นไปตามแผนงานปี 2554 (เดือนเมษายน 54 – เดือนมีนาคม 55 ) 1 ในแผนงานนี้คือการไปเยือนมหาวิทยาลัยรัฐทั้ง 9 แห่ง โดยได้พิจารณาแล้วว่ามีความเป็นเลิศด้านงานวิจัย นอกเหนือจากนี้ได้แนะนำความเป็นมาขององค์กร ที่ผ่านมาได้ไปมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยา
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังถือได้ว่าเป็นสถาบันอันดับต้นๆที่มีความเชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมศาสตร์ของประเทศไทย ได้มีการลงนามในข้อตกลงความช่วยเหลือทางวิชาการจากรัฐบาลญี่ปุ่น (ODA) ปัจจุบัน นอกจากมีความร่วมมืออย่างแน่นแฟ้นกับมหาวิทยาลัยฟุกุโอะกะแล้วยังมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยโตไกอีกด้วย รองอธิการบดี รศ.ดร. รัตติกร วรากูลศิริพันธ์ สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโตโฮคุและพูดภาษาญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี ครั้งนี้ได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นตลอดการประชุม การเยือนครั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยฟุกุโอะกะ ซึ่งได้มาเยือนที่ JSPS สำนักงานกรุงเทพ และเป็นผู้ดำเนินการนัดหมายให้
ทางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯได้ทำข้อตกลงร่วมกันกับมหาวิทยาลัยฟุกุโอกะจัดตั้งคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นซึ่งเป็นข้อดีสำหรับการหางานโดยเฉพาะ โรงงานของบริษัทญี่ปุ่น
รองอธิการบดี รศ.ดร.รัตติกรได้เคยไปญี่ปุ่นในการแลกเปลี่ยนระหว่างมหาวิทยาลัย ทุนสนับสนุนระดับปริญญาเอกและเคยดำรงตำแหน่งคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขาวิศวกรรมศาสตร์
ผู้อำนวยการได้ยกตัวอย่างจำนวนผู้ที่ได้รับทุนจาก JSPS เนื่องจากผู้สนใจด้านวิศวกรรมศาสตร์ในประเทศไทยมีจำนวนน้อย จึงมีความประสงค์ให้ทางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯได้นำส่งใบสมัครทุนในระดับปริญญาเอกในสาขาวิศวกรรมศาสตร์เพิ่มขึ้น และทาง JSPS จึงขออนุญาตจัดการสัมมนาเพื่ออธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับทุนในระดับปริญญาเอกให้แก่นักวิจัยรุ่นใหม่และผู้ที่สนใจ และได้คำตอบรับจากทางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ
มหาวิทยาลัยฟุกุโอะกะได้สอบถามถึงความเป็นไปได้ที่จะสมัครและเงื่อนไขการสมัครหลักสูตร (Acore)และ(AAplatform) หลักสูตรทั้ง 2 นี้ เป็นการแลกเปลี่ยนบุคลากร โดยการทำการวิจัยร่วมกัน เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯได้ส่งใบสมัครและสถาบันที่ร่วมทำงานวิจัยให้การตอบรับกลับม
ต่อมารองอธิการบดี รศ.ดร.รัตติกร ได้แนะนำเกี่ยวกับสถาบันและการทำงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานเอกชน การนำส่งนักวิจัยไปประจำภายใต้เงื่อนไขของมูลนิธิ
สุดท้ายนี้ รศ.ดร. รัตติกรได้เชิญเข้าร่วมสัมมนาพิเศษ เรื่องสถานการณ์ในประเทศญี่ปุ่นหลังเหตุการณ์ภัยพิบัติกับบทบาทมหาวิทยาลัยซึ่งจัดขึ้น วันพฤหัสบดี ที่ 30 มิถุนายน 2554 ผู้อำนวยการได้ตอบรับเข้าร่วมงานนี้