วันพุธที่ 14 ธันวาคม 2011 ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่ JSPS เดินทางไปเยือนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จ. สงขลา ซึ่งเป็นไปตามแผนงานปี 2554 (เดือนเมษายน 54 – เดือนมีนาคม 55 ) 1 ในแผนงานนี้คือการไปเยือนมหาวิทยาลัยรัฐทั้ง
9 แห่ง โดยได้พิจารณาแล้วว่ามีความเป็นเลิศด้านงานวิจัย นอกเหนือจากนี้ได้แนะนำความเป็นมาขององค์กร ที่ผ่านมาได้ไปเยือน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง , มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 8 ที่ได้ไปเยือนา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ก่อตั้งขึ้นปี 1971 ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่แห่งหนึ่งในไทย และมีโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ วิทยาเขตในภาคใต้รวม 5 แห่ง มี 30 คณะ นักศึกษารวมทั้งสิ้น 37,000 คน ระดับปริญญาตรี และโท 31,000 คน ระดับปริญญาเอก 1,000 คน เป็นที่น่าภูมิใจอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยติดอันดับที่ 5 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย จากการจัดอันดับของ QS เป็นรองจาก มหาวิทยาลัยมหิดล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ครั้งนี้ได้เข้าพบรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา รศ.ดร. ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยท่านอื่นๆ รวม 5 ท่าน JSPS และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต่างมีความร่วมมือต่อกันอย่างยาวนาน และยังมีความร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยคานาซาวะ ด้านวิทยาศาสตร์และงานวิจัยด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม นำโดย ดร. มาซามิ ฟุรุอุชิ จากมหาวิทยาลัยคานาซาวะ
ในส่วนโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ประกอบด้วยเตียงผู้ป่วยซึ่งสามารถรองรับได้ถึง 800 เตียง นอกจากนี้มีคณะทันตแพทย์ศาสตร์ ไม่ได้มีเฉพาะงานด้านวิจัยเท่านั้น แต่ยังมีความเป็นเลิศทางด้านการรักษาพยาบาลอีกด้วย
JSPS ยังมีงานวิจัยร่วมกันกับมหาวิทยาลัยคานาซาวะอย่างต่อเนื่อง หลังจากปี 2006 เป็นต้นมา ได้เข้าร่วมการประชุมขั้นสุดยอดในระดับนานาชาติ (JENESYS)
ผู้อำนวยการได้พูดถึงลักษณะของทุนการศึกษาแต่ละประเภท อาทิเช่น AA-Platform ( Asia-Africa) และ Core-to-Core และเรื่องการจับคู่ทุนการศึกษาของด้านฝ่ายไทยและมหาวิทยาลัยญี่ปุ่น อีกทั้งยังได้ยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย
ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์นำโดย รศ.ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีความร่วมมือทางด้านการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยคานาซาวะ ได้เรียนเชิญผู้อำนวยการเข้าร่วมประชุมเพื่อพูดคุยถึงผลงานทางการวิจัยที่ได้ทำขึ้นร่วมกับนักวิจัยของมหาวิทยาลัยในวันถัดไป
วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม รศ. ดร. พีระพงศ์ ทีฆสกุล ได้พาผู้อำนวยการเข้าเยี่ยมชมคณะวิศวกรรมศาสตร์ พูดถึงรายละเอียดเกี่ยวกับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยคานาซาวะซึ่งมีความร่วมมือกันมาโดยตลอดจนกระทั่งในเดือนมีนาคม 2009 ได้เริ่มมีการนำนักศึกษาระดับปริญญาโท 3 คน และระดับปริญญาเอก 5 คน ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยคานาซาวะ มีผลงานทางวารสารระดับนานาชาติร่วมกัน 7 ฉบับ และได้ต่อยอดงานวิจัยด้วยเข้าสมัครCore-to-Core , AA-platform ให้งานวิจัยพัฒนาและสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
ต่อมาได้เข้าเยี่ยมชมคณะวิทยาศาสตร์ ผศ.ดร. อัญชนา ประเทพ ได้ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งพูดคุยถึงทุนการศึกษาที่เคยได้รับจาก JSPS ไปศึกษาวิจัยในปี 2002 ที่ Atmosphere and Ocean Research Institute, The University of Tokyo เป็นเวลา 10 ปี ได้พูดคุยถึงเรื่องการแลกเปลี่ยนนักวิจัยและการแข่งขันการขอทุนวิจัยสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ซึ่งมีการแข่งขันสูง
ตามแนวป่าชายเลน จะมีหญ้าทะเลขึ้นอยู่ ซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนพื้นที่ชายฝั่งทะเล ( Blue Carbon )และทำให้ระบบนิเวศสมบูรณ์ ซึ่งมีอยู่มากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความสำคัญของหญ้าทะเล เป็นตัวให้ออกซิเจน ดักจับตะกอนและช่วยป้องกันการกัดเซาะพังทลายของชายฝั่งทะเลอีกด้วย
นอกจากนี้ ดร. เฉลิมเกียรติ สงคราม อาจารย์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เคยได้รับทุนและเป็นคณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่า JSPS ซึ่งการมาเยือนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในครั้งนี้ เป็นโอกาสอันดีทำให้มีการหารือถึงการจัดประชุมสัมมนาที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในปีหน้า ทางผู้อำนวยการมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง
ผู้อำนวยการจะมาเยือนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อจัดประชุมสัมมนาอีกครั้ง