วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2011 JSPS สำนักงานกรุงเทพ ได้ไปเยือนมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา ซึ่งเป็นไปตามแผนงานปี 2554 (เดือนเมษายน 54 – เดือนมีนาคม 55 ) 1 ในแผนงานนี้คือการไปเยือนมหาวิทยาลัยรัฐทั้ง 9 แห่ง โดยได้พิจารณาแล้วว่ามีความเป็นเลิศด้านงานวิจัย นอกเหนือจากนี้ได้แนะนำความเป็นมาขององค์กร ที่ผ่านมาได้ไปมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังา
มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทย ซึ่งในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในเอเชียของ QS ปี 2011 มหาวิทยาลัยมหิดล ติดอันดับที่ 1 ในลำดับที่ 34 และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยติดอันดับที่ 2 ในลำดับที่ 47 มหาวิทยาลัยมหิดลมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในด้านการแพทย์และทางมหาวิทยาลัยยังได้เข้าร่วมในโครงการของ JSPS เช่นการทำวิจัยด้านการศึกษาในเอเชีย โครงการแลกเปลี่ยนการวิจัยเอเชีย –แอฟริกา (AA) มีการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัย โอซาก้า ภายใต้ความร่วมมือ JST-JICA ในนามของ SATREPS เป็นงานเกี่ยวกับการวิจัยภายใต้การดูแลของกระทรวงสาธารณสุข
มหาวิทยาลัยโอซาก้าและมหาวิทยาลัยมหิดลมีความร่วมมือในด้านการวิจัยมาเป็นระยะเวลานาน ในปี 2009 มหาวิทยาลัยมหิดลได้มอบปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. ทัสซูจิ เซกิ ซึ่งท่านได้กรุณาช่วยทำการนัดหมายในครั้งนี้ การนัดหมายครั้งนี้ ทาง JSPS ได้เข้าพบกับอธิการบดี ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ศาสตราจารย์ ศันสนีย์ ไชยโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายการวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ในขณะที่ผู้อำนวยการได้กล่าวแนะนำองค์กรในส่วนของ Acore และ AA platform ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้แจ้งชื่อของศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้ทุนจากโครงการนี้ให้ทาง JSPS ได้ทราบ
การมาเยือนครั้งนี้ทำให้ทราบว่า บุคลากรส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัยสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก 70%สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ เช่น อเมริกาและยุโรป ซึ่งมีผลต่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ภายในมหาวิทยาลัยมีวัฒนธรรมที่เรียกได้ว่า「Pure Culture」ซึ่งหมายถึงผู้ที่จบการศึกษาจากมหิดลและได้กลับมาทำงานในมหาวิทยาลัยมหิดลอีกซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคณะแพทย์ศาสตร์ ศาสตราจรย์ ศันสนีย์ ได้กล่าวว่าสำหรับคณะวิทยาศาสตร์แล้วบุคลากรในคณะไม่มีใครที่จบจากมหาวิทยาลัยมหิดลเลย
แผนงานของ JSPS ที่เกี่ยวข้องกับนักวิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักวิจัยต่างชาติจากยุโรป อเมริกาซึ่งมีจำนวนมาก ทำให้ได้รับประสบการณ์การทำงานจากหลากหลายวัฒนธรรม สามารถดูแลจัดสรรค่าใช้จ่ายในงานวิจัยด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้มีความมั่นใจสูงขึ้น ผู้อำนวยการได้มีความประสงค์เปิดการประชุมเพื่ออธิบายถึงแผนงานของ JSPS ที่มีต่อนักวิจัยรุ่นใหม่ จึงได้ขออนุญาตทางมหาวิทยาลัยมหิดลเปิดประชุมเพื่อแนะนำองค์กรพร้อมพร้อมอธิบายถึงทุนการศึกษา ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมหิดลได้ตอบรับ โดยมีการจัดประชุมในวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2011 ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ในฐานะผู้อำนวยการ JSPS หวังว่ากิจกรรมนี้จะเสริมสร้างความร่วมมือกันระหว่างองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดลและสมาคมศิษย์เก่าให้ยาวนานต่อไป