งานแนะแนวประชาสัมพันธ์ทุนของ JSPS ณ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และการเยี่ยมชมสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2557 JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ จัดบรรยายสรุปโปรแกรมที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนที่ดีของศาสตราจารย์ Hiroaki Morimura จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว (Tokyo Tech) ซึ่งมีสำนักงานสาขาในสวทช .

สวทช.เป็นหน่วยงานของรัฐบาลภายใต้การอุปถัมภ์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาในประเทศไทย รวมทั้งนำเสนอกองทุนวิจัยและส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการ มีนักวิจัยเกือบ 2,000 คน และในจำนวนนี้มีผู้จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกถึง 500 คนทำงานในสวทช. รวมทั้งในศูนย์การวิจัยแห่งชาติอีก 4 แห่ง คือ “ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ” (BIOTEC) “ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ” (MTEC) “ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ” (NECTEC) และ “ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ” (NANOTEC)

ก่อนการบรรยายสรุป JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างประเทศกับรองผู้อำนวยการของสวทช. ดร. ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล และผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ ดร. ภัทราภรณ์ สุนทรสัจ และนักวิจัยอื่น ๆ

NSTDA 1

(From left) Prof. Yamashita, Dr.Chadamas, International program associate, Dr. Pattharaporn, Prof. Morimura

(From left) Prof. Yamashita, Dr.Chadamas, International program associate, Dr. Pattharaporn, Prof. Morimura

นับเป็นครั้งแรกสำหรับการบรรยายสรุปโครงการของ JSPS ที่จัดขึ้น ณ สวทช. มีนักวิจัยกว่า 80 คนเข้าร่วม เนื่องจากโปรแกรมระหว่างประเทศของ JSPS ไม่ได้เป็นที่รู้จักในบรรดานักวิจัยของสวทช. มากนัก นักวิจัยจึงสนใจทุนและกองทุนวิจัยที่นำเสนอโดย JSPS เป็นอย่างมาก

NSTDA 2

NSTDA 3

Participant asks about the program.

Participant asks about the program.

หลังจากจบการบรรยายที่สวทช. JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ ได้ไปเยี่ยมชมศูนย์การวิจัยวิทยาศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นอีก 4 แห่ง ดังนี้

Tokyo Institute of Technology (Tokyo Tech) Office Thailand

ภายใต้ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับสวทช. และมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โตเกียวเทคจัดตั้งหลักสูตรบัณฑิตศึกษาร่วมกันระหว่างประเทศ (หลักสูตรปริญญาโท) ชื่อว่า TAIST-Tokyo Tech ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

โตเกียวเทคจะส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนทางวิชาการจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมคนหนุ่มสาวให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตในเอเชีย นักเรียนบางคนในโปรแกรมนี้ได้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น

A class in TAIST

A class in TAIST

SATREPS Project, “Innovation on Production and Automotive Utilization of Biofuels from Non-Food Biomass”, Director’s office
โครงการ SATREPS “นวัตกรรมในการผลิตและการใช้ยานยนต์ของเชื้อเพลิงชีวภาพจากชีวมวลที่ไม่ใช่อาหาร”


SATREPS เป็นโครงการวิจัยร่วมกันระหว่างประเทศที่ได้รับการสนับสนุนร่วมกันโดย JST และ JICA
หนึ่งในโครงการของ SATREPS คือ “นวัตกรรมในการผลิตและการใช้ยานยนต์ของเชื้อเพลิงชีวภาพจากชีวมวลที่ไม่ใช่อาหาร” ได้ถูกนำมาใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2552
1 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่น และ 5 สถาบันวิจัยไทยร่วมกันดำเนินโครงการนี้ JSPS สำนักงานกรุงเทพฯเข้าเยี่ยมชมสำนักงานผู้อำนวยการของ SATREPS Dr. Kae Russell ผู้ประสานงานโครงการเป็นผู้อธิบายภาพรวมของโครงการนี้

Project coordinator, Dr. Kae Russell

Project coordinator, Dr. Kae Russell

Project coordinator, Dr. Kae Russell

Project coordinator, Dr. Kae Russell

National Institute of Information and Communication Technology (NICT), Asia Center

NICT เป็นสถาบันการวิจัยแห่งชาติของญี่ปุ่นที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ศูนย์เอเชียไอซีที (ICT Asia center) ส่งเสริมกิจกรรมความร่วมมือในการวิจัยไอซีที และด้านการพัฒนากับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ผู้อำนวยการนายโยชิฮิโร โอนิชิ (Mr. Yoshihiro Onishi) และรองผู้อำนวยการนายนาริอากิ อิเคมัตซึ (Mr.Nariaki Ikematsu) อธิบายเทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่งนำมาใช้ในประเทศแถบเอเชีย
NICT เน้นความจำเป็นของความร่วมมือที่ดีกับประเทศในเอเชีย เพื่อริเริ่มการพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศในโลก

(From left) Mr. Ikematsu, Prof. Yamashita, International Program Associate, Mr. Onishi

(From left) Mr. Ikematsu, Prof. Yamashita, International Program Associate, Mr. Onishi

e-ASIA Joint Research Program (e-ASIA JRP) Office

E-ASIA JRP สนับสนุนโครงการวิจัยร่วมกันระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกบนพื้นฐานพหุภาคี มีสถาบันเงินทุนสาธารณะจาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนและ 8 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเข้าร่วมและสนับสนุนกลุ่มการวิจัยในแต่ละประเทศ รวมทั้งสวทช.จากประเทศไทยและสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีญี่ปุ่น (JST) จากประเทศญี่ปุ่นด้วย

ผู้ประสานงานของหลักสูตรพิเศษ e-ASIA นางสาว เอริโกะ คิชิดะ (Eriko Kishida) จาก JST อธิบายภาพรวมและแนวโน้มของโปรแกรม เพื่อให้เข้าใจถึงวิทยาศาสตร์และแนวโน้มการวิจัยในประเทศสมาชิกอาเซียน JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ จึงตั้งใจที่จะแบ่งปันข้อมูลเพิ่มเติมกับ สำนักงาน e-ASIA JRP ด้วย

(From left) Ms. Kishida, Prof. Yamashita, International Program Associate

(From left) Ms. Kishida, Prof. Yamashita, International Program Associate