งานสัมมนา JSPS-NRCT ณ มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2557 (Thailand Research Expo 2014)

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2557 JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ จัดงาน “สัมมนา JSPS-NRCT” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2557 สนับสนุนโดยสภาวิจัยแห่งชาติ (NRCT) มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติเป็นงานวิชาการประจำปีที่นักวิจัยทั้งในและต่างประเทศร่วมกันจัดสัมมนาทางวิทยาศาสตร์สำหรับประชาชน

JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ เป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาร่วมกับสภาวิจัยแห่งชาติ มีการเชิญนักวิจัยชาวญี่ปุ่นนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ในปีนี้เพื่อให้สอดคล้องกับหัวข้อ “การวิจัยเพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมอย่างยั่งยืน” ของมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2557 JSPS จึงจัดงานสัมมนาในหัวข้อ “การเรียนรู้: คุณค่าของการเรียนรู้ และการอยู่ร่วมกัน” และเชิญวิทยากร 3 ท่านจากประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งผู้ดำเนินรายการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(From left) Asst. Prof. Dr. Jitti, Prof. Suzuki, Mr. Oikawa, Mr. Kristhawat, Prof. Homma, Prof. Yamashita, Mr. Kato

(From left) Asst. Prof. Dr. Jitti, Prof. Suzuki, Mr. Oikawa, Mr. Kristhawat, Prof. Homma, Prof. Yamashita, Mr. Kato

โครงร่างของการสัมมนา มีดังนี้

“การเรียนรู้: คุณค่าของการเรียนรู้ และการอยู่ร่วมกัน”

 

วิทยากร :

Prof. Masato Homma, Kyoto University of Art and Design

“Learnology” -Toward creation of Learning Planet-

 

Mr. Yukihiko Oikawa, Former Deputy Director, Kesennuma City Board of Education

”Learning with local wisdom and community involvement”

-บทเรียนที่ได้รับจากแผ่นดินไหวและสึนามิ เมื่อปี พ.ศ. 2554

 

Prof. Katsunori Suzuki, Kanazawa University

“Learning to be and live together” -What ESD aims for-

 

ผู้ดำเนินรายการ :

ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา อดีตคณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

IMG_7729_R

นายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้กล่าวเปิดงานสัมมนา ตามด้วยการต้อนรับจาก Mr. Hisashi Kato ผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศของ JSPS

 

การบรรยายของศาสตราจารย์ Homma เน้นที่ความหมายของการเรียนรู้ และคุณค่าของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เขาสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสัมภาษณ์คนที่นั่งติดกันเกี่ยวกับ “สิ่งที่คุณได้เรียนรู้เมื่อเร็ว ๆ นี้” หรือ “อะไรเป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตที่คุณเคยเรียนรู้มา” ผู้เข้าร่วมสัมมนาบางคนถูกขอร้องให้แบ่งปันบทสนทนาดังกล่าวแก่ทุกคน ผู้เข้าร่วมสัมมนาต่างมีความสุขกับการนำเสนอประสบการณ์ของตน และเรียนรู้หัวข้อ “อะไรคือการเรียนรู้” ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกัน

Prof. Homma

Prof. Homma

Prof. Homma interviewed one of the paticipants

Prof. Homma interviewed one of the paticipants

Participants interviewed each other.

Participants interviewed each other.

Mr. Oikawa แนะนำประวัติศาสตร์อันยาวนานของการศึกษาในโรงเรียนภายใต้แนวคิดของ “การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ESD)” ที่เมือง Kesennuma จังหวัด Miyagi ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างหนักจากแผ่นดินไหวใหญ่ทางภาคตะวันออกของญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2554 เขาเน้นว่าการศึกษาจะช่วยให้ชุมชนฟื้นตัวจากภัยพิบัติ หลังจากแผ่นดินไหวและสึนามิ เด็กนักเรียนในเมือง Kesennuma ได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการช่วยฟื้นฟูบูรณะเมืองจากสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้จากแนวคิดของ “การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ESD)” เด็กๆ ยังให้การสนับสนุนทางจิตวิญญาณแก่ชุมชน ผู้เข้าร่วมสัมมนาประทับใจเด็กนักเรียนที่ช่วยเหลือชุมชนให้ฟื้นตัวเป็นอย่างมาก

Mr. Oikawa

Mr. Oikawa

ศาสตราจารย์ Suzuki เริ่มต้นการบรรยายด้วยคำถามว่า “คุณเป็นคนมองอนาคตในแง่ดี หรือ แง่ร้าย ?” หลังจากนั้น เขายกตัวอย่างภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลก และยืนยันถึงความสำคัญของการเรียนรู้ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ในสังคมสมัยใหม่ ศาสตราจารย์ Suzuki แนะนำแนวคิดและภูมิหลังของ “การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ESD)” ให้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา และแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความหมายของ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” กับผู้เข้าร่วมสัมมนา

IMG_7793_R

Participants actively ask questions to speakers.

Participants actively ask questions to speakers.

ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา ดำเนินการสัมมนาด้วยอารมณ์ขัน และสรุปเนื้อหาเป็นภาษาไทยเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเข้าใจยิ่งขึ้น

Asst. Prof. Jitti

Asst. Prof. Jitti

ลำดับสุดท้าย ศาสตราจารย์ Yamashita ผู้อำนวยการ JSPS สำนักงานกรุงเทพฯ กล่าวปิดการสัมมนา

 

มีผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนามากกว่า 100 คน รวมทั้งครูและนักเรียนซึ่งสนใจความหลากหลายของ “การเรียนรู้” และ “การศึกษา” ในประเทศญี่ปุ่น

 

Seminar Program Download

NRCT-JSPS_Program Seminar